วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงานการฝึกงานสัปดาห์ที่สอง 10-13/06/51









เรียนรู้การรับงาน เปิด/ปิด งาน ออกไปทำงานข้างนอกกับรถส้ม ทำการติดตั้งThaiQP เร็ท 512, ไปติดตั้งที่ KMITU, ไปซ่อมสายสัญญาณตู้ATM

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รายงายงานการฝึกงานประจำสัปดาห์ 02-06/06/51



สัปดาห์ที่ 1 ระหว่าง วันจันทร์ที่ 02-06/06/2551

1. เรียนรู้เกียวกับเรื่อง NTU , LTU และ MUX

NTU (Network Terminal Unit) ทำหน้าที่เป็น Modem ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะนำไปติดตั้งที่ด้านลูกค้า ส่วนใหญ่มักจะนำวางไว้ในห้อง computer จะวางไว้ใกล้ๆกับอุปกรณ์ Router ในส่วนของอุปกรณ์ NTU นี้ทาง TOT เป็นผู้จัดหาให้แก่ลูกค้าเพื่อสำหรับเช่าเท่านั้น.

MUX (Multiplex) ทำหน้าที่เป็น LTU (Local Terminal Unit) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ด้านต้นทาง ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันกับ NTU โดยผ่านคู่สายทองแดง ในส่วนของ MUX นี้จะติดตั้งอยู่ที่ห้องโทรคมฯ (PCM) ของทุกๆชุมสาย โดยจะทำสาย TIE ลงมายังห้อง MDF เพื่อเชื่อมโยงกับข่ายสายไปยังลูกค้า

สำหรับอุปกรณ์ MUX นี้ก็จะมีหลักการทำงานเปรียบเสมือนกับรถโดยสารขนาดใหญ่ที่มีขนาดต่างๆขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งาน โดยจะสามารถขนบรรทุกผู้โดยสารหรือสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก สามารถทำให้ผู้โดยสารหรือสิ่งของเป็นจำนวนมากนั้นเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้พร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน

ซึ่งอุปกรณ์ MUX นี้1 ชุดจะเรียกว่า 1 NODE และ NODE นี้จะใช้ชื่อเรียกเดียวกับชื่อชุมสายที่นำไปติดตั้งไว้ ส่วนในพื้นที่ น.3 นั้น NODE หลักหรือ Tandem นั้นจะอยู่ที่ ชุมสายลาดหญ้า LTY (ชั้น3) จะทำการเชื่อมโยงกับ NODE ต่างๆทุกชุมสายด้วยระบบสื่อสัญญาณ(Transmission) และโครงข่ายเส้นใยแสง(Optical Fiber) ที่มีประสิทธิภาพสูง

----------------------------------------------------------

2.ศึกษาการรับงานรอแก้ไขผ่านทางหน้าเว็บ
http://it.tot.co.th/1477 เป็นเว็บที่เมื่อมีเหตุขัดข้องก็จะปรากดการแจ้งที่หน้าจอ เราต้องตรวจดูว่าเขตพื่นที่รับผิดชอบเรารึป่าว หากใช้ก็ต้องออกไปแก้ไข เมื่อแก่ไขเสร็จก็ทำการปิดงาน โดยเขตที่เรารับผิดชอบคือทางตะวันตก ลงไปใต้ หน่วย สนข3 ซึงในหน้าเว็บจะบอกรายระเอียดทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์16คำ


ด.ช.ทร็อธคร๊าบบบกระป๋ม
4921237061
1.Address: เลขที่อยู่ หมายเลขบอกตำแหน่งที่ตั้ง
2.URL: Uniform Resource Locator ที่อยู่ของเว็ป
3.ARPAnet: อาร์พาเนต ข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN)
4.มิลเนต(Milnet):ข่ายงานทางด้านการทหารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูง
5.Bridge บริดจ์: อุปกรณ์ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่ทำให้ข่ายงาน 2 ข่ายงานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ถึงแม้ว่าข่ายงานทั้ง สองนั้นจะมีลักษณะรูปทรงเรขาคณิตที่แตกต่างกันหรือใช้กฎเกณฑ์การสื่อสารที่ต่างกันก็ตาม
6.bus บัส: ทางเดินไฟฟ้าหรือตัวเชื่อมต่อซึ่งเปรียบได้กับถนนสำหรับรับส่งสัญญาณไฟฟ้าให้ไหลผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น การนำสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับหน่วยขับซีดี-รอมโดยใช้สกัสซี (SCSI ) เป็นตัวเชื่อมต่อ ในระบบข่ายงาน บัสจะหมายถึง สายเคเบิลที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
7.Client/server network ข่ายงานรับ/ให้บริการ: ข่ายงานซึ่งแฟ้มและโปรแกรมบางโปรแกรมมีการใช้ร่วมกันในระหว่างคอมพิวเตอร์ในข่ายงานนั้นซึ่งอยู่ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) แต่จะมีทรัพยากรบางอย่างที่จำกัดให้ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องบริการแฟ้มข้อมูล (File Server) เท่านั้น ในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่จำกัดไว้นี้ได้
8.Communications protocol: เกณฑ์วิธีการสื่อสาร มาตรฐานที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในข่ายงานหรือโดยการใช้ระบบโทรคมนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร่วมอยู่ในการสื่อสารนี้จะต้องมีการจัดระบบอย่างเดียวกันและมีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เหมือนกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
9.Connectionless protocol: เกณฑ์วิธีที่ไม่มีการเชื่อมต่อก่อนส่ง มาตรฐานที่ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในข่ายงานบริเวณกว้าง
10.Cyberspace ไซเบอร์สเปซ: จักรวาลหรือที่ว่างเสมือน (virtual space) ที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ ความหมายหนึ่งของ space หมายถึง ช่องว่าง 3 มิติที่ไร้ขอบเขตที่ซึ่งวัตถุและเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นและมีทิศทางที่สัมพันธ์กัน
11.Dialup access: การเข้าถึงโดยต่อหมายเลข วิธีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือกับข่ายงาน เช่น อินเทอร์เน็ต โดยการใช้โมเด็ม
12.Domain เขต: เขตในเลขที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต
13.domain name ชื่อเขต: ชื่อซึ่งระบุที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ (host) ที่เชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ตโดยเป็นชื่อสมบูรณ์ของที่ตั้งของอินเทอร์เน็ตนั้น
14.Domain name address เลขที่อยู่ชื่อเขต: เลขที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต (host name) เขตย่อย (subdomain) และเขตระดับสูงสุด (domain) ซึ่งตรงข้ามกับเลขที่อยู่ของ IP (IP address)
15.Domain Name Service (DNS) บริการชื่อเขต (ดีเอ็นเอส): โปรแกรมที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตโดยเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ (เรียกว่า DNS server) และจัดหาตัวแปลอัตโนมัติระหว่างชื่อของเขตกับเลขที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
16.Encryption การเข้ารหัสลับ: กระบวนการในการเข้ารหัสแฟ้มหรือเปลี่ยนสลับข้อความโดยใช้กุญแจเข้ารหัสเพื่อให้ข้อความปรากฏในรูปแบบของขยะบนหน้าจอภาพทำให้อ่านไม่เข้าใจหรืออ่านไม่ออก
ที่มา
http://www.cybered.co.th/library/01.htm

ดาวเทียมที่ใช้ในไทย




ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems)ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสัญชาติไทยดวงแรก “ธีออส” เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 ก.ก. ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral)ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม. ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่
แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)
การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)
ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ
ดาวเทียมธีออส เดิมมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ต่อมาได้เลื่อนกำหนดส่งเป็น 9 มกราคม พ.ศ. 2551 จากฐานปล่อยดาวเทียม เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน โดยใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่ง
สถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000079992

ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อ ไทยคม เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 5 ดวงคือ
ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย รุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก ใช้ชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงใช้ชื่อว่า ไทยคม 1A ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย, ยุโรป, ออสเตรเลียและแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดาวเทียมไทยคม 3 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1] ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A รุ่นเดียวกับไทยคม 3 สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A1

Start


มันเพิ่งแค่เริ่มต้น